ปัญหาของนิสิตที่สำคัญในการแต่งกายคือความเชื่อ


และ ความเหมาะสม กล่าวคือพวกที่แต่งกายไม่เรียบร้อย 

ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่มีความเชื่อ 

ความเชื่อที่ว่าเมื่อเราแต่งตัวให้ถูกกาลเทศะแล้วจะเป็น
ผลดีต่อตัวเรา


 และเช่นกันอีกส่วนหนึ่งปัญหาเกิดจากความเหมาะสม 

ความเหมาะสมในที่นี้หมายถึง 

ไม่รู้ว่าจะต้องแต่งกายอย่างเหมาะสมได้อย่างไร เพราะไม่รู้ว่า


ความเหมาะสมของการแต่งกายอยู่ตรงไหน



            ปัญหาแรกปัญหาเรื่องความเชื่อ 


ค่อนข้างจะเป็นปัญหาที่เป็นนามธรรมไปสักหน่อยแต่
ความจริงแล้วมัน


คือเบื้องลึกของจิตใจ เมื่อเราได้คิดที่จะแก้ไขในจุดนี้ขอรู้

เถอะว่าเราได้เดินทางมาถูกทาง และแก้ปัญหาได้ตรงจุดแล้ว
 แนวทางการแก้ไขนั้น คือสร้างความเชื่อในหมู่นิสิตว่า

 การแต่งกายที่ดีเป็นผลดีต่อตัวเค้า

 การสร้างความเชื่อนั้นทำได้หลายวิธี 

เช่น การสร้างแรงจูงใจ การให้รางวัล 

การรณรงค์ การชมเชยเมื่อเขาแต่งตัวเรียบร้อย ปัญหานี้แม้ว่า

จะยากแต่หากทุกคนร่วมมือกัน พูดกันทุกวัน

 รณรงค์กันทุกวัน ก็เชื่อว่าจะต้องประสบความสำเร็จ

อย่างแน่นอน

            ปัญหาที่สอง ปัญหาเรื่องความเหมาะสม


 ความเหมาะสมที่ว่าเกิดจากความรู้ที่เราจะต้องปลูกฝังให้รู้สึกว่า

 การแต่งกายแบบนี้ การแต่งกายที่ดีนี่ต่างหาก

เป็นการแต่งกายที่ถูกต้อง       

บรรทัดฐานของการแต่งกายก็เป็นความสัมพันธ์

เช่นเดียวกันที่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ว่ามันคือส่วนหนึ่งของ

ความเหมาะสม

 เพราะว่ามันยากที่จะพูดว่าใครแต่งการเหมาะสมแต่งกาย

ไม่เหมาะสม บรรทัดฐานที่ว่านี้แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

 แต่เราควรจะกำหนดลงไปให้มีการรับได้

ของสังคมที่เราอยู่อย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

 แนวทางการแก้ไขปัญหานี้

 ไม่ใช่แค่รุ่นพี่ออกมาโวยวาย บังคับน้อง

 สร้างบรรทัดฐานโดยการออกกฎ ซึ่งเปล่าเลยมันไม่ใช่

วิธีการแก้ปัญหา แต่รุ่นพี่

 หรือสังคมควรจะออกมาแสดงพลังและทุกๆคนจะต้องสอน

 และ สร้าง บรรทัดฐานนั้นแก่กันและกัน

 ด้วยการแต่งกายอย่างเหมาะสม

 เพราะว่าแม้เราจะทำการประชาสัมพันธ์สักเท่าไรเกี่ยวกับ

การแต่งกายที่ถูกต้อง

 แต่หากรุ่นพี่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง 

รุ่นน้องก็คงจะสับสนในบรรทัดฐานนั้นเหมือนกันว่า

 จริงๆแล้วเส้นแบ่งมันอยู่ตรงไหน และยุติธรรมหรือเปล่าที่รุ่นน้อง
  
กลับถูกสอนให้แต่งกายเรียบร้อย

 แต่รุ่นพี่กลับแต่งกายไม่เรียบร้อย เปรียบได้กับ

 คนออกกฎหมายทำผิดกฎหมายเสียเอง แล้ว

 คนอยู่ใต้กฎหมายที่ไหนจะเชื่อในกฎหมาย


  
 เพียงเราสร้างความเชื่อและ

ให้นิสิตรู้ถึงความเหมาะสมว่าแท้จริงแล้วเส้นแบ่ง

การแต่งกายที่ดีกับแต่งการที่ไม่ดีอยู่ตรงไหน 

ด้วยวิธีแนวทางการแก้ปัญหาที่ลงลึกถึงรากแท้ของปัญหา

 การใช้ความจริง

 การใช้ความถูกต้อง และ บรรทัดฐานแห่งสิ่งที่เรียกว่า

ดีมาเป็นตัวกำหนด สุดท้าย

 สังคมมหาวิทยาลัยจะมีแต่นิสิตที่รู้บทบาทของตนเอง

ว่าควรจะทำอะไรและไม่เฉพาะเรื่องการแต่งกายแต่เพียงอย่าง

เดียว.....